เผยแพร่เมื่อ/created date: 16 May 2013

โพขี้นก

Ficus rumphii Blume
โพตัวผู้, โพประสาท
MORACEAE
ไม้ยืนต้น สูงประมาณ 20 เมตร หรือเป็นไม้พุ่ม ขึ้นบนพื้นดินหรือกึ่งอิงอาศัย เป็นไม้ผลัดใบ กิ่งแก่สีเหลืองน้ำตาล กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม อาจมีขนนุ่มสีขาวปกคลุมบางๆ ใบเรียงเวียน แผ่นใบรูปรีแกมไข่ กว้าง 4-12 เซนติเมตร ยาว 5-16 เซนติเมตร ผิวใบคล้ายแผ่นหนัง ไม่มีขนปกคลุม ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปตัด รูปหัวใจ หรือรูปลิ่ม ก้านใบยาว 4-6 เซนติเมตร หูใบเกลี้ยง ยาว 1-3.5 เซนติเมตร หลุดร่วงง่าย ช่อดอกออกที่ปลายยอด หรือที่โคนใบ อยู่เดี่ยวหรือเป็นคู่ ไม่มีก้าน ใบประดับเกลี้ยง ติดทน ฐานรองดอกกึ่งทรงกลม ผิวเกลี้ยง สีจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำเมื่อแก่ เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.9-1.2 เซนติเมตร ผิวมักเหี่ยวย่นเมื่อแห้ง ส่วนยอดเว้าเข้า ช่องเปิดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-2.5 มิลลิเมตร ดอกเพศผู้กระจายตัว กลีบรวมสีแดงเข้ม รังไข่สีขาว
หมู่เกาะโคโคส ปากีสถาน เนปาล ภูฏาน อินเดีย บังกลาเทศ พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำปาง สกลนคร ศรีสะเกษ ประจวบคีรีขันธ์ สระบุรี ชลบุรี พังงา สงขลา และปัตตานี พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และมักพบปลูกตามวัด
-

Flora of Thailand Volume 10 Part 4, Page 638

-

7048 views

แสดงความเห็นและอภิปราย/discuss

   

Your E-mail:

Your Name: